การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาที่ถูกมองข้าม
การกีดกัน การศึกษาตามอัธยาศัยหรือการศึกษาตลอดชีวิต ไปสู่ชายขอบความรู้
การเรียนรู้ตามอัธยาศัย ระบบการศึกษาเรียนรู้ที่ถูก กีดกันไปสู่ชายขอบ
มีผู้กล่าวถึงระบบการศึกษาตลอดชีวิตมีอยู่สามระบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สองแบบนั่นมีความชัดเจน และรุ่งเรือง ไล่ตามกันมาเนื่องจากเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินการจนได้คนสิบถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ที่เป็นคนชั้นเลิศ และได้รับตำแหน่งมากมายที่ได้ค้ำยัน และผลิตซ้ำ สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าการศึกษาในระบบ ซึ่งเกิดหลังปฎิวัติอุตสาหกรรมไม่นานเท่าไรนัก นอกจากได้คนชั้นเลิศสิบถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์แล้วและทิ้งคนกลางๆ และแย่ๆ ไว้เป็นแรงงาน
การศึกษาตามอัธยาศัย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Informal Education
จริง ๆ จะแปลเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ผมก็ว่ายังไม่ถูกต้องเท่าไรนัก ต้องให้ชัดเจนว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะในตลอดชีวิตมีการเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นจริง ตามนิยามของกรมการศึกษานอกโรงเรียนไว้ดังนี้การเรียนรู้ตามอัธยาศัย ระบบการศึกษาเรียนรู้ที่ถูก กีดกันไปสู่ชายขอบ
มีผู้กล่าวถึงระบบการศึกษาตลอดชีวิตมีอยู่สามระบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สองแบบนั่นมีความชัดเจน และรุ่งเรือง ไล่ตามกันมาเนื่องจากเป็นองค์กรขนาดใหญ่มีทรัพยากรมนุษย์จำนวนมาก และใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการดำเนินการจนได้คนสิบถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์ที่เป็นคนชั้นเลิศ และได้รับตำแหน่งมากมายที่ได้ค้ำยัน และผลิตซ้ำ สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าการศึกษาในระบบ ซึ่งเกิดหลังปฎิวัติอุตสาหกรรมไม่นานเท่าไรนัก นอกจากได้คนชั้นเลิศสิบถึงยี่สิบเปอร์เซ็นต์แล้วและทิ้งคนกลางๆ และแย่ๆ ไว้เป็นแรงงาน
การศึกษาตามอัธยาศัย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า Informal Education
จริง ๆ จะแปลเป็นการศึกษาตามอัธยาศัย ผมก็ว่ายังไม่ถูกต้องเท่าไรนัก ต้องให้ชัดเจนว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะในตลอดชีวิตมีการเรียนรู้แบบนี้เกิดขึ้นจริง ตามนิยามของกรมการศึกษานอกโรงเรียนไว้ดังนี้
“เป็นการศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิต เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์
การทำงาน บุคคล ครอบครัว สื่อ ชุมชน แหล่งความรู้ต่าง ๆ
เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต
โดยการศึกษาตามอัธยาศัยมีลักษณะสำคัญ คือ ไม่มีหลักสูตร
ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอบ
การเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งไม่จำกัดเวลาเรียน
สามารถเรียนได้ตลอดเวลา และเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต”
ผมว่าเป็นการนิยามความหมายที่ชัดเจนมากเลยทีเดียว แต่กลับเรียกว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยเป็นคำที่ผมใช้คำว่าเรียนรู้ตลอดชีวิต น่าจะมีนัยเดียวกัน แต่การเขียนว่าเป็นการศึกษาตามอัธยาศัยทำให้ลดพลังและความสำคัญลงไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากระบบการศึกษาตามอัธยาศัยของเราอยู่คู่โลกมานาน นับตั้งแต่มนุษย์เกิดขึ้นมาและสร้างสรรค์อารยธรรม ตั้งแต่ยุคบรรพกาล ยุคหิน ยุคเหล็ก ยุคไฟจนถึง ยุคไฟนีออน การค้นคิดสิ่งต่าง ๆ ของมนุษย์ทุกยุค อาศัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือที่เรียกว่า การศึกษาตามอัธยาศัย เพราะมนุษย์ทุกคนมีสมองที่จะเรียนรู้ตลอดเวลา
ไม่ว่าเราจะพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนทัศนะ หรือการเข้าหาประสบการณ์ตรงบางสิ่งบางอย่างไร้รูปแบบ ไร้กรอบ หรือแม้กระทั่งการสนทนากับตัวเอง ก็ถือว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิตหรือศัพท์ที่จะเรียกว่า การศึกษาตามอัธยาศัย ความกว้างและครอบคลุมตลอดชีวิตของระบบการเรียนรู้ประเภทนี้ ทำไมจึง ไม่มีคนให้ความสนใจที่จะพัฒนาให้ทุกคนรู้สึกว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิตนั้นมีความสำคัญมากที่สุด
คำถามที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้แก่มีการจงใจหรือไม่ ที่ผลักดันการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ไร้ความสำคัญ?
ถามว่าใครมีองค์ความรู้เกี่ยวกับเกษตรกรรมการทำมาหากิน มากกว่าชาวบ้าน
ถามว่าใครมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการชุมชน ได้ดีมากว่า ชาวบ้าน
ถามว่าใครมีองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรอย่างยั่งยืน เป็นธรรม มากกว่าชาวบ้าน
ถามว่าใครมีองค์ความรู้ในการพัฒนาประเทศเท่ากับ ชาวบ้าน
ถามว่าใครมีองค์ความรู้เรื่องการศึกษาได้ดีเท่ากับชาวบ้าน
การกีดกันชาวบ้านออกจาการพัฒนาก็คือใบรับรองและวุฒิการศึกษา ซึ่งเป็นผลผลิตจากความน่าเชื่อถือในการรับรองคุณวุฒิ และความรู้ต่อมาตอนหลังมีการดัดจริต ให้ปริญญากิตติมศักดิ์อะไรแก่ชาวบ้านบ้างชาวบ้านที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้าน บางทีความรู้ของเขาน่าจะเทียบเท่าปริญญาเอก ก็เทียบให้เขาปริญญาตรีบ้าง ปริญญาโทบ้าง แต่ก็ยังดีที่เขายังเห็นความสำคัญ แต่ก็ไม่จริงจังเท่าไรนัก เนื่องจากไม่ได้สืบค้นหาว่าความรู้ที่เขาได้นั้นเป็นคำตอบจากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร และแก้ไขปัญหานั้นอย่างไร และก่อรูปองค์ความรู้ได้อย่างไร และมูลค่าที่เขาคิดและแก้ปัญหานั้นเทียบเท่า ศาสตราจารย์ หรือ ปริญญาเอก ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่อย่างไร องค์ความรู้นั้นเกิดทุกวันเพราะปัญหามีอยู่ทุกวัน
ถามว่าศักดิ์ศรีของความรู้ของชาวบ้าน กับนักวิชาการนั้นเทียบเท่ากันได้ไหม ความรู้จากชาวบ้านเกิดจากชีวิตและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องกระทำถ้าไม่กระทำแล้วจะอดหรือไม่มีกิน ส่วนนักวิชาการนั้นมีเงินเดือนพร้อมแล้วก็ผลิตงานที่เป็นความนึกคิดฝันในห้องแอร์ เป็นชุดคำตอบสำเร็จรูป พร้อมที่จะให้ท่องจำ ควบคุมวินัย แล้วก็สอบ ผมคิดว่าศักดิ์ศรีขององค์ความรู้นั้นเท่ากันคนที่ได้เปรียบก็คือคนที่มีใบรับรอง มีเปลือกหนา คำย่อเยอะ ๆ จะน่าเชื่อถือกว่า ทั้งที่เป็นผลิตองค์ความรู้เช่นกัน ปัจจัยที่ทำให้ถูกกีดกันไปสู่ความไม่สำคัญนั้นเกิดเพราะว่ากลัวว่าชาวบ้านจะสามารถเกิดการคิดเองทำเองได้ เพราะการศึกษาตามอัธยาศัยนั้นผู้เรียนรู้สามารถกำหนดสิ่งที่จะเรียนรู้เองได้ และจริง ๆ ก็มีคนฉลาดและประสบความสำเร็จมากมายที่ไม่ได้เรียนหนังสือ ตั้งแต่ระดับเจ้าสัวมหาเศรษฐี ไปจนถึงเกษตรกร ซึ่งไม่มีใครอ้างได้ว่าเกิดจากแผนการจัดการเรียนรู้ของใคร และจริง ๆ แล้วการที่พวกได้รางวัลระดับ
โอลิมปิควิชาการนั้น มาจากการศึกษาตามอัธยาศัยหรือไม่ เพราะจะมีครูคนไหนอ้างอิงแผนการสอนของตนเองมาวัดการประสบความสำเร็จของลูกศิษย์ ถ้าลูกศิษย์ไม่ได้คิดชอบเองโดยกำหนด และคิดได้เองได้อย่างรอบรู้ และถ้าอ้างอย่างนั้น ทำไมได้โอลิมปิควิชาการเพียงคนหรือมากที่สุดสองคน ทำไมไม่ได้ทั้งหมด
คนที่ลงทุนเรียนเพื่อให้คนอื่นเซ็นต์รับรองความรู้ของตนเองนั้นกลัวว่าคนที่ไม่เรียนมาจะได้รับการประเมินค่าเดียวกัน มีศักยภาพที่เท่า ๆ กัน หรือไม่เรียนเลยจะดีกว่า ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นคุณพ่อ คุณแม่บางคนที่ไม่ได้ เรียนหนังสือมาแม้แต่ตัวเดียว แต่ก็มีองค์ความรู้ในการดำเนินชีวิตและสามารถ
ส่งลูกทุกคนให้จบการศึกษามาได้ แถมยังสอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ปลูกฝังความดีงาม ให้กับพวกที่ท่องจำองค์ความรู้ไปสอบได้ขนาดไหนแบบนี้จะเหนือชั้น หรือ เทียบเท่า หรือเทียบกันไม่ติด ก็ลองคิดศักดิ์ศรีกันเอาเองสำหรับผมแล้ว พวกทีศึกษาตามอัธยาศัยเหนือชั้นกว่าเยอะ เพียงแต่ไม่มีใครเขียนถึงเขา ไม่สร้างทฤษฎีให้เขา ไม่สร้างเวทีให้เขายืน ผมนี่แหละจะเขียนให้เขา สร้างทฤษฎีและคำอธิบาย ให้เข้าใจได้ง่าย ๆ
แหล่งที่มา : http://www.gotoknow.org/posts/505422
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น